วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เคล็ด( ไม่ )ลับการเลือกอาหาร

อาหาร ช่วยให้สุขภาพดี ต้านอนุมูลอิสระ ห่างโรค


ปัจจุบันการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน เช่น บริโภคผักและผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเลือกผักและผลไม้ที่มีสีต่างๆกัน ทำให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารแลพไฟโตเคมิคัลที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิแดนท์ เช่น ไลโคฟีนในมะเขือเทศ แคโรทีนอยด์ในแครอท และคลอโรฟิลด์ในผักใบเขียว สารออกซิแดนท์เป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัยและการเกิดโรคภัยต่างๆ ความนิยมบริโภคถั่วเหลือง แหล่งโปรตีนจากพืชซึ่งปลอดภัยมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ และการบริโภคน้ำมันพืชมีกรดไขมันจำเป็น พบมากในน้ำมันมะกอก รำข้าว ทานตะวัน และน้ำมันงา โดยเฉพาะการได้รับวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปัจจุบันน้ำมันพืชเข้ามามีบทบาทต่อผู้รักสุขภาพอย่างขาดไม่ได้

เคล็ดไม่ลับ 5 วิธีการเลือกอาหารเพื่อสุขภาพตามช่วงอายุ

การรู้จักเลือกรับประทานอาหารไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องสุขภาพเท่านั้น หากยังเอื้อต่อความสวยความงามอีกด้วย ความจริงการเลือกอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สุขภาพดีได้ เพราะในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันในด้านพัฒนาการของร่างกายและลักษณะการดำเนินชีวิต วันนี้จึงขอเสนอเรื่องราวของอาหารที่เกี่ยวข้องกับช่วงอายุทั้ง 4 ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดที่คุณจะลองทำตาม

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 2 ช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปเป็นช่วงที่ร่างกายมีการพัฒนาและเติบโตเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำงาน และเป็นวัยที่ใช้ชีวิตอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ยิ่งมีการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันมากเท่าไร ร่างกายก็ยิ่งเผาผลาญและใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยเลือกรับประทานจำพวกเนื้อสัตว์และถั่วต่างๆ รวมถึงข้าวและแป้งมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยผักผลไม้เป็นอันดับสอง ส่วนนมและอาหารทดแทนแคลเซียมต่างๆ เช่น เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ตามมาเป็นอันดับสาม และให้ความสำคัญของไขมันเป็นอันดับสุดท้าย ปลาเป็นอาหารสมองที่ช่วยรักษาผนังเซลล์ประสาทในสมองให้แข็งแรง ไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ ผักสีเขียวอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ช่วยบำรุงสายตา สร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ผักผลไม้สีเหลืองอย่างกล้วยหอมก็ถือเป็นผลไม้คลายเครียดชนิดหนึ่ง

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 อายุขึ้นเลข 3 หลายคนเริ่มตกใจกลัว แต่การรู้จักเลือกรับประทานจะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเดาอายุคุณจากรูปร่างหน้าตาได้เลย ในช่วงเริ่มวัยผู้ใหญ่ความต้องการพลังงานยังคงอยู่ เพราะเป็นช่วงชีวิตของการทำงาน แต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องของไขมันและโคเลสเตอรอลที่จะส่งผลกระทบกับรูปร่างหน้าตาภายนอกที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในอนาคตด้วย เพราะการรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือโคเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น เนยแข็ง กะทิ เนยเทียม เป็นต้น จะสร้างปัญหาให้หลอดเลือดและหัวใจ แต่คุณสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยลดไขมันและโคเลสเตอรอล เช่น ปลาทะเล ช่วยลดความดันโลหิต พวกถั่วเมล็ดแห้งอย่างถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และมีโปรตีนสูงเพื่อให้พลังงานแทนสัตว์ใหญ่ได้อีก อาหารจำพวกข้าว ธัญพืชไม่ขัดสี อย่างข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท มีใยอาหารสูง ช่วยให้อิ่มท้องนานและส่งผลดีต่อระบบลำไส้

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 วัยทองถูกเรียกแทนวัย 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากสภาพร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายวัยนี้ก็จะเริ่มมีโรคต่างๆที่ไม่เคยออกอาการ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น “วิถีทางธรรมชาติ” แต่ทั้งนี้การชะลอวัยหรือป้องกันโรคต่างๆที่มากับวัยไม่ได้ยุ่งยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ สำหรับช่วงวัยนี้ความต้องการพลังงานจะลดลง แต่ความต้องการแคลเซียมและวิตามินต่างๆเพิ่มขึ้น ซึ่งจะได้รับจากผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง แล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีจากอาหารที่หารับประทานได้ง่าย เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ แคนตาลูป ส่วนอาหารที่มีวิตามินอี ได้แก่ น้ำมันพืช เนยถั่ว ถั่วลิสง อัลมอนด์ นอกจากนี้ควรรับประทานเต้าหู้ โปรตีนไขมันต่ำ ซึ่งให้แคลเซียมมากกว่าเนื้อสัตว์อย่างอื่น แต่ไม่ควรลืมหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวเร่งความแก่ให้เร็วขึ้น เช่น อาหารไขมันสูงประเภททอดกรอบหรือผัดน้ำมันมากๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มกาเฟอีนทั้งหลาย

วัยที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 การก้าวเข้าสู่ช่วงวัย 50 เป็นต้นไปนั้นไม่ได้ส่งผลต่อร่างกายอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจด้วย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวัยนี้คุณควรเข้าใจการทำงานของร่างกายที่มีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะระบบการย่อยการดูดซึมอาหาร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่าง ช่วงนี้คุณอาจไม่รู้สึกกระหายน้ำเท่าไหร่ แต่ควรดื่มน้ำให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว เพื่อป้องกันการขาดน้ำโดยไม่รู้ตัว ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลงและพยายามเลือกชนิดไม่ขัดสี เน้นอาหารจำพวกปลาเพื่อไม่ให้ขาดโปรตีน ที่สำคัญคือเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย วัยนี้จะพบปัญหากระดูกเปราะ กระดูกพรุนอย่างชัดเจน ดังนั้น ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ อาหารแคลเซียมสูงอยู่ในนม โยเกิร์ตชนิดครีม เนยแข็ง หรือแม้แต่ปลาตัวเล็กตัวน้อย พวกผักใบเขียวก็มี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบรอกโคลี จะช่วยลดปัญหาเรื่องกระดูกให้รุนแรงน้อยลง การแก้ไขภาวะขาดน้ำอาจให้ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ เก๊กฮวย น้ำใบเตย นอกเหนือจากน้ำเปล่า เพราะช่วยบรรเทาโรคบางอย่างและให้ประโยชน์กว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

สิ่งสำคัญไม่ว่าคุณจะอยู่ในช่วงวัยใดควรดูแลเรื่องการกินอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่ก็ตาม เพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูแลตัวเองเมื่อพบว่าตัวเองมีโรคหรือมีปัญหาสุขภาพแล้วเท่านั้น นอกจากนี้การเพิ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันให้มาก ทำบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย จะช่วยให้สุขภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ด้านระบบการไหลเวียนเลือด ควบคุมน้ำหนักตัว และลดความเครียดของร่างกายได้

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำสลัดนานาชาติเพื่อสุขภาพคุณ

น้ำสลัดนานาชาติเพื่อสุขภาพคุณ


สลัดเป็นเมนูจานหนึ่งจากประเทศตะวันตกที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา เพราะได้ชื่อ ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีผักและผลไม้สดเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งอุดม ไปด้วยคาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่และไฟเบอร์ ให้ทั้งพลังงานและสารอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ แน่นอนว่าเมนูสลัดต้องรับประทานคู่กับน้ำสลัด แสนอร่อย อย่างไรก็ตามน้ำสลัดมีส่วนผสมและคุณค่าทางโภชนาการต่างกัน น้ำสลัด จึงอาจไม่เหมาะกับทุกคนที่เลือกรับประทาน บางชนิดเหมาะกับคนที่ต้องใช้พลังงานสูง แต่บางชนิดเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ฯลฯ ดังนั้นการเลือกน้ำสลัดต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกายและโรคของแต่ละคน

น้ำสลัดพลังงานสูงสำหรับคนที่ต้องใช้พลังงานสูง

เนื่องจากประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมัน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานสูง เช่น นักกีฬาหรือผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนัก แต่ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้โคเลสเตอรอลสูงเกินไป หรืออาจเลือกน้ำสลัดที่เลือกใช้วัตถุดิบดีต่อสุขภาพ เช่น ใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันคาโนลา แทนน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งให้คุณภาพใกล้เคียงน้ำมันมะกอก ช่วยควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลไม่ให้สูงเกินไป หรือมีการดัดแปลงสูตร เช่น ลดจำนวนไข่แดงลง หรือใช้ไข่ทั้งฟองแทน สลัดน้ำข้นที่ขอแนะนำ ได้แก่

• น้ำสลัดเทาส์ซันไอร์แลนด์ ทำมาจากน้ำ น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู มะเขือเทศบด น้ำเชื่อม มัสตาร์ด เกลือและไข่แดง ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานประมาณ 56 กิโล-แคลอรี เป็นน้ำสลัดที่มีสีสันน่ารับประทาน มีรสชาติเปรี้ยวและหวาน หลายคนจึงชื่นชอบเพราะรับประทานแล้วไม่เลี่ยนจนเกินไป น้ำสลัดนี้ให้คุณค่าสารอาหารมากมาย เช่น วิตามินอี วิตามินซี โปรตีน ไอโซฟลาโวน และโอเมกา- 3 แม้ว่าน้ำสลัดนี้จะคล้ายกับน้ำสลัดครีม แต่ส่วนผสมของน้ำมันและไข่แดงจะน้อยกว่า ไม่มีส่วนผสมของมายองเนสจึงทำให้พลังงานลดลง เพิ่มประโยชน์แก่ร่างกายด้วยไฟโตเคมีคอลจากมะเขือเทศ อย่างไรก็ตามหากรับประทานปริมาณมากก็จะได้สารอาหารไม่พึงประสงค์เหมือนๆ กับสูตรน้ำสลัดครีมเช่นกัน


• น้ำสลัดครีม ทำมาจากไข่ไก่ น้ำมันพืช มายองเนส และมัสตาร์ด สลัดครีมปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงาน 190 กิโลแคลอรี แม้ว่าจะมีไขมันมาก
แต่หลายคน ก็ยังชื่นชอบเพราะทั้งข้น หวานและมัน เนื่องจากมีส่วนผสมหลักจากไข่ไก่จึงเป็นแหล่งของโปรตีน ไบโอตินในวิตามินบี ช่วยบำรุงผิว เล็บและผมให้เงางามสุขภาพดี แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เมื่อจะรับประทานปริมาณผักต้องเหมาะสมกับปริมาณไขมันหรือน้ำตาลในน้ำสลัดจึงจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และเนื้อสัตว์ที่นำมารับประทานคู่กันก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพของตนเองและครอบครัว เช่น เนื้อปลาทูน่าในน้ำเกลือหรือน้ำแร่ เนื้ออกไก่ลวกไม่ติดหนังและไขมัน ฯลฯ

• น้ำสลัดซีซาร์ มีส่วนผสมจากน้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำส้มสายชู ไข่ เกลือ และ น้ำเชื่อม ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานประมาณ 68 กิโลแคลอรี ลักษณะน้ำสลัดจะเป็นสีขาวข้น มักรับประทานคู่กับผักกาดแก้ว ผักกาดหอมคอส เห็ดฟาง โรยด้วยเบคอนและขนมปังกรูตอง เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ชอบรับประทานผักเพียงอย่างเดียว แต่ควรระวังไม่เน้นใส่เบคอนหรือกรูตองมากไปอาจได้รับพลังงานเกินได้ สามารถ รับประทานเป็นมื้อหลัก

น้ำสลัดเพื่อสุขภาพสำหรับคนมีปัญหาด้านสุขภาพ


น้ำสลัดใส เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น คนเป็นเบาหวาน
โรคหัวใจ ความดัน-โลหิตสูง และโรคอ้วน เพราะมีส่วนผสมของเกลือและน้ำตาลที่น้อยกว่า แม้ว่าจะมีส่วนประกอบหลักเป็นไขมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันงา ซึ่งจัดเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน หากรับประทานในปริมาณพอเหมาะจะช่วยลด การเกิดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดลงได้ สลัดน้ำใสที่ขอแนะนำ เช่น

• น้ำสลัดงาหรือญี่ปุ่น ส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ โชยุ น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำเชื่อมและเกลือ น้ำสลัดญี่ปุ่นโดดเด่นในส่วนผสมที่มีความหอม ทำให้ช่วยเจริญอาหาร น้ำมันงามีกรดไพติก ช่วยในการยับยั้งการเกิดมะเร็งลำไส้ และเมื่อราดบนผักสลัดจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำมันเมล็ดองุ่นยังอุดมไปด้วยโอเมกา- 6 ช่วยในการควบคุมการแข็งตัวของเลือดและรักษาหลอดเลือดให้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์ ผักสลัดที่นิยมรับประทานคู่กับน้ำสลัดงาหรือญี่ปุ่นได้แก่ ผักกาดแก้ว มะเขือเทศ แตงกวาญี่ปุ่น วอเตอร์เครส หากเพิ่มเต้าหู้ขาว หั่นสีเหลี่ยมลูกเต๋า รับประทานคู่กับสลัดผักจะให้พลังงานและโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ได้เลย

• น้ำสลัดอิตาเลียน น้ำสลัดอิตาเลียนเดิมทีเป็นสลัดสำหรับคนสตางค์น้อย จะใช้ขนมปังเก่าแต่ยังไม่หมดคุณภาพมาอบให้กรอบผสมกับรสของน้ำสลัดเพื่อเพิ่มรสชาติ บางสูตรอาจเติมพริกไทยดำและใบโหระพาสับ เพิ่มความร้อนแรง แต่ส่วนประกอบหลักของน้ำสลัดอิตาเลียน ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว กระเทียม หัวหอม ฯลฯ น้ำสลัดอิตาเลียน 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานประมาณ 60 กิโลแคลอรี จากการศึกษาการรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ 2 ช้อนชาต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดตีบ ควบคุมระดับความดันโลหิต นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยเรื่องความจำของสมอง สำหรับส่วนผสมของ น้ำมะนาวช่วยกำจัดสารพิษ ลดระดับโคเลสเตอรอล และช่วยให้เซลล์ต่างๆ แข็งแรง ส่วนกระเทียมมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เป็นอาหารของแบคทีเรียดีในลำไส้ใหญ่ ดังนั้นจึงช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ลดการเกิดหลอดเลือดแดงเข็งตัวและให้ใยอาหารที่ดีแก่ร่างกาย สุดท้ายส่วนประกอบของหัวหอมในน้ำสลัดสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

• น้ำสลัดฝรั่งเศส ส่วนผสมหลัก ได้แก่ น้ำ น้ำส้มสายชู เกลือ น้ำเชื่อม และเกลือ ปริมาณน้ำสลัดฝรั่งเศส 1 ช้อนโต๊ะ ให้พลังงานประมาณ 22 แคลอรี เป็นน้ำสลัดที่ไม่มีส่วนประกอบของไขมัน จึงเหมาะกับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก กินน้ำสลัดราดบนผักกาดแก้วสดๆ กรอบๆ คู่กับอาหารประเภทสัตว์ปีกไร้มันหรือ เนื้อปลา จะช่วยให้เจริญอาหาร ไม่ให้เลี่ยนจนเกินไป และถ้าอยากเพิ่มความหอมของน้ำสลัด ให้บีบน้ำมะนาวซึ่งช่วยเพิ่มวิตามินซีแก่ร่างกาย และโรยพริกไทยดำ เพิ่มความ-หอมเหมือนอาหารประเภทยำ อร่อยแบบบ้านเรานั่นเอง

• บาลเซมิค ส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ น้ำ น้ำส้มสายชูบาลเซมิค น้ำมะเขือเทศบด เกลือและน้ำมันมะกอก ปริมาณบาลเซมิค 1 ช้อนโต๊ะให้พลังงานประมาณ 15 กิโลแคลอรี น้ำสลัดชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบรับประทานมะเขือเทศ เพราะส่วนผสมของน้ำส้มสายชูบาลเซมิคประกอบด้วยมะเขือเทศบดที่มีไลโคปีนมาก และเมื่อผสมกับน้ำมันสลัดจะยิ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมดีขึ้น ช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคหัวใจ เมื่อรับประทานกับผักสลัดสามารถเพิ่มมะเขือเทศผลใหญ่หรือมะเขือเทศเชอร์รี่ จะได้รสชาติเปรี้ยวหวาน เพิ่มความอร่อยมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง


เครื่องปรุง - ส่วนผสม
* ถั่วเขียว 250 กรัม (เผือก, เม็ดบัว, อื่นๆ)
* น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง
* หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
* น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม
* เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
* ไข่เป็ด 3 ฟอง
* หอมแดงซอยละเอียด 3 ลูก
* ใบเตย 3 ใบ




วิธีทำขนมไทย ทีละขั้นตอน

1. นำหอมแดงไปเจียวในน้ำมันจนเหลืองและกรอบ (ระวังไหม้ ควรเจียวด้วยไฟอ่อนๆ )

2. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกไปแช่ในน้ำและนำไปนึ่งจนสุก หรือถ้าใช้เผือกก็ปอกเปลือกและนำไปนึ่งจนสุก จากนั้นจึงนำเผือกไปยีให้เป็นชิ้นเล็กๆ

3. ในชามขนาดกลาง, ผสมไข่ น้ำตาลปี๊บและเกลือ แล้วขยำโดยใช้ใบเตยให้เข้ากันดี น้ำตาลละลายหมด จากนั้นจึงใส่หัวกะทิลงไป ขยำต่ออีกจนส่วนผสมเข้ากันดี แล้วจึงนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก

4. เอาถั่วหรือเผือกใส่ลงไปในส่วนผสมที่กรองแล้ว และใส่น้ำมันที่เหลือจากการเจียวหอมแดง (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) คนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี

5. นำส่วนผสมที่ได้ไปกวนด้วยไฟร้อนปานกลางในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอนก็ได้) กวนจนส่วนผสมเริ่มข้นก็พอ ถ้ากวนมากเมื่อนำไปอบจะ ไม่น่าทานเพราะจะแตกมัน ที่เรานำมากวนก็เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนผสมแยกชั้นเมื่อนำไปอบเนื่องจากไข่กับกะทิ ไม่เข้ากันดี

6. นำส่วนผสมที่กวนแล้วไปอบ โดยใส่ถาดหรือแบบที่ต้องการ ใช้ความร้อน 180 องศาเซลเซียส (360 องศาฟาเรนไฮต์) อบประมาณ 30 - 40 นาที จากนั้นจึงนำหอมเจียวไปโรยหน้าและอบต่ออีกประมาณ 5 นาที

7. ถ้าอบโดยใส่ถาดไว้ เวลาเสริฟก็ตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดตามความเหมาะสม ถ้าอบโดยใส่แบบอื่นๆไว้ ถ้าขนาดแบบไม่ใหญ่มาก อาจเสริฟได้พร้อมแบบทันที

แกงเขียวหวานไก่

แกงเขียวหวานไก่






ขั้นตอนการทำ



เครื่องปรุง
เนื้ออกไก่ หั่นชิ้น 120 กรัม
พริกแกงเขียวหวาน 2 ช้อนโต๊ะ
มะเขือเปราะ 4 ลูก
ถั่วฝักยาว 50 กรัม
ใบโหระพา
กะทิ 1/3 ถ้วย
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาล 2 ช้อนชา


วิธีทำ

1. หั่นมะเขือเปราะให้ได้ 4-6 ชิ้นในแต่ละลูก แช่น้ำเปล่าไว้
2. หั่นถั่วฝักยาวชิ้นพอคำ พักไว้
3. ตั้งกระทะ ผัดพริกแกงเขียวหวานกับกะทิให้หอม
4. เติมเนื้อไก่ ผัดให้พอสุก เติมมะเขือเปราะและถั่วฝักยาว ผัดให้เข้ากัน
5. เติมน้ำเปล่า ต้มให้พอเดือดจึงใส่เครื่องปรุงรส น้ำปลาและน้ำตาล
6. ต้มต่อจนมะเขือเปราะสุกและนิ่ม ก่อนปิดไฟให้เติมใบโหระพา คนให้เข้ากัน จัดเสิร์ฟ



เคล็ดลับ วิธีทำแกงเขียวหวานให้อร่อย

ขึ้นชื่อว่า แกงเขียวหวาน แค่ได้ยินชื่อ ก็น้ำลายสอ ออกมารอออยู่ในปากแล้วค่ะ แกงไทย ตระกูลนี้แปลกแตกต่าง จากแกงกะทิ ชนิดอื่นๆ หลักๆเห็นจะเป็นสีของแกง ที่มีสีเขียว ตามสีของพริกที่ใช้ ทำพริกแกงค่ะ แต่คนไทยก็พลิกแพลง แกงเขียวหวานให้ทานได้ไม่จำเจ จากส่วนผสมหลักที่ใช้แกง อาทิเช่น แกงเขียวหวานไก่ (อันนี้แม่เขียวหวานชอบเป็นที่สุดค่า) แกงเขียวหวานหมู แกงเขียวหวานเนื้อ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย ค่ะ
วิธีทำแกงเขียวหวาน ให้อร่อย จุดหลักก็เหมือนกับ การทำแกงชนิดอื่นๆค่ะ น้ำพริกแกง สำคัญมากๆ ค่ะ ซึ่งแม่เขียวหวานเอง ทุกวันนี้ ไม่มีเวลามานั่งตำน้ำพริกแกงเอง แล้วล่ะค่ะ ใช้วิธีลองผิดลองถูกค่ะ ลองสลับซื้อ ของเจ้าโน้นที ของเจ้านี้ที ว่าเวลาเอามาแกงแล้ว ของยี่ห้อไหน น้ำพริกแม่อะไร อร่อยที่สุด ครั้งต่อไป แกงก็ซื้อเจ้าที่เราถูกปากที่สุดค่ะ
สิ่งสำคัญถัดไป ก็คือกะทิค่ะ ถ้าทำได้อยากให้ใช้กะทิสด แบบว่าซื้อมะพร้าวขูดมาคั้นเอง โดยจะต้องซื้อมะพร้าวใหม่ๆ จริงๆ ขูดใหม่ๆ คั้นกันใหม่ๆ (อุ๊ย.. โดนค้อน...โอเคค่ะ เอาเคล็ดลับ แบบเหนื่อยน้อยหน่อย ไม่ต้องขูดมะพร้าว แบบมะหมี่ก็ได้) แต่ถ้ามันลำบากเหลือแสน ก็ใช้กะทิกล่องก็ได้ค่ะ
เวลาแกง ไม่ว่าจะแกงเขียวหวาน หรือแกงไหนๆ ต้องผัดน้ำพริกแกงก่อนค่ะ เอาหัวกะทิ ลงไปเคี่ยวในกะทะให้ แตกมัน ใส่น้ำพริกแกงลงไป ผัด ผัด แล้วก็ผัด พอส่วนผสมเริ่มแห้ง ก็เติมกะทิลงไปอีกพอแฉะ แล้วก็ผัด ผัด ผัด จนน้ำพริกแกงแตกมัน มีกลิ่นหอมค่ะ (ไม่แนะนำให้ผัดน้ำพริกแกง ในครัวปิดที่ไม่มีเครื่องดูดควัน นะคะ แบบว่าจามกันทั่วบ้านแน่ค่ะ)
หางกะทิเวลาแกง เราไม่ควรใส่น้ำหางกะทิมากจนเกินไปคะ ใส่แต่พอทำให้แกง "ขลุกขลิก" แกงจะได้รสชาติเข้มข้นค่ะ









ชนิดของเต้าหู้

ชนิดของเต้าหู้


เต้าหู้ชนิดอ่อน



เต้าหู้ชนิดเหลืองนิ่ม วิธีการทำต่างจากเต้าหู้ขาวแข็งเพราะใช้แคลเซียมซัลเฟต (ผงยิปซัม หรือที่เรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"เจียะกอ") ในการทำให้โปรตีนในน้ำนมถั่วเหลืองตกตะกอน ซึ่งเนื้อจะเนียนและไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อตกตะกอนแล้วนำมาใส่ผ้าขาวบางห่อในบล็อกให้เป็นก้อนแล้วนำไปต้ม ใส่ขมิ้นให้ได้สีเหลือง คุณสมบัติเด่นของเต้าหู้เหลืองนิ่มคือ เมื่อนำไปทอดแล้วจะทำให้ได้เต้าหู้ที่กรอบนอกนุ่มใน เต้าหู้ชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปผัดกับกุยช่ายขาว ทอดจิ้มน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือทอดจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดก็ได้
เต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ลักษณะอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้เหลืองนิ่ม กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับเต้าหู้เหลืองนิ่มจะต่างกันเพียงเวลาในการทำน้อยกว่า เต้าหู้ชนิดนี้นิยมนำไปทำเป็นแกงจืด เต้าหู้นึ่งหรือสเต๊กเต้าหู้
เต้าหู้ชนิดห่อผ้า วิธีการทำเหมือนกับเต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ต่างกันเพียงการบรรจุหีบห่อที่นำมาห่อผ้าแล้วมัดทำให้แข็งและคงรูปร่างได้ดีมากขึ้นเมื่อนำไปทำอาหาร ส่วนใหญ่จะนำไปทำเต้าหู้ทรงเครื่องหรือแกงจืด


เต้าหู้ชนิดแข็ง



เต้าหู้ชนิดขาวแข็ง ทำจากน้ำเต้าหู้ผสมกับดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) ที่ช่วยทำให้เกิดการตกตะกอนเมื่อตกตะกอนแล้วจึงนำไปใส่ในผ้าขาวที่ปูอยู่ในบล็อก พอสะเด็ดน้ำแล้วจึงห่อให้เป็นก้อนแล้วทำให้สะเด็ดน้ำอีกครั้งก็จะได้เป็นเต้าหู้ขาวแข็ง
เต้าหู้ชนิดเหลืองแข็ง วิธีการทำนำเต้าหู้ขาวแข็งไปหมักในเกลือแล้วจึงนำไปต้ม พร้อมทั้งใส่ขมิ้นให้เป็นสีเหลืองเคลือบบริเวณผิวของเต้าหู้ทำให้เนื้อเต้าหู้ชนิดนี้แข็งและมีความยืดหยุ่นกว่าชนิดขาวแข็ง ส่วนใหญ่นำไปทำผัดไทย หมี่กะทิ ผัดถั่วงอก ผัดขลุกขลิกน้ำพริกเผาหรือนำไปผสมเป็นเครื่องก๋วยเตี๋ยวหลอด
เต้าหู้ชนิดทอด มีส่วนประกอบคล้ายกับเต้าหู้ขาวแข็งแต่มีสัดส่วนและเทคนิคที่แตกต่างกัน เนื้อสัมผัสที่ได้จากเต้าหู้ชนิดนี้มีความอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อนำไปทอดแล้วจะพองตัวมากกว่าและภายในจะมีเนื้อเต้าหู้อยู่ไม่พองหรือกลวง โดยมากจะใส่ในอาหารประเภทต้ม (พะโล้ ต้มผัดจับฉ่าย แกงต่างๆ และลูกชิ้นแคะ)
เต้าหู้ชนิดซีอิ๊วดำ วิธีทำนำเต้าหู้ชนิดเหลืองแข็งไปเคี่ยวกับซีอิ๊วดำและเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอมและรสชาติที่แตกต่างโดยใส่น้ำตาลทรายแดงทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อมสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าเต้าหู้ชนิดอื่นๆ เพราะมีความชื้นน้อย ถ้าเก็บใส่ช่องฟรีซจะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน นิยมนำไปยำกับเกี้ยมไฉ่ ผัดกับดอกกุยช่าย ใส่ในอาหารเจแทนเนื้อหมูในพะโล้เจหรือทานเป็นอาหารว่างก็ได้



เต้าหู้พวง
เป็นเต้าหู้หั่นเป็นชิ้นแล้วทอด ร้อยเชือกขายเป็นพวงใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟและพะโล้

เต้าหู้โมเมน
เป็นการผลิตแบบญี่ปุ่น เต้าหู้ชนิดนี้เนื้อค่อนข้างแข็งแน่น นำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนเต้าหู้ขาวแข็ง

เต้าหู้คินุ
เป็นการผลิตแบบญี่ปุ่นเช่นกัน เนื้อเหมือนเต้าหู้ขาวอ่อนสามารถนำไปประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับเต้าหู้ขาวอ่อน


เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งให้โปรตีนมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึง 2 เท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกอีกด้วย

ถั่วเหลืองซึ่งนำมาผลิตเป็นเต้าหู้ยังมีเลซิติน ซึ่งมีผลในการลดไขมันและช่วยสงเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความทรงจำ รวมทั้งฮอร์โมนจากพืชที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ที่มีการวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งและมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือช่วยชะลอภาวะหมดประจำเดือนและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

จึงสรุปได้ว่า เต้าหู้เหมาะกับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปเพราะเต้าหู้จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรียงความเรื่องแม่

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต


ระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด